พื้นที่ของแหล่งทุนทางสังคม
ทุนทางสังคม (Capital)
icon

เขมราฐ

...
พิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดภูถ้ำพระศิลาทอง

พิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดภูถ้ำพระศิลาทอง ก่อตั้งเนื่องจากการที่ชาวบ้านได้ขุดดินเพื่อทำศาลาและได้ขุดพบโบราณวัตถุและหลักฐานทางโบราณคดีต่างๆ ในปี 2550 ต่อมาจึงได้สร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ในปี 2551 และได้นำโบราณวัตถุต่างๆมาจัดแสดงไว้ในภายในอาคาร อาทิ โครงกระดูกมนุษย์ที่สวมสร้อยคอลูกปัดแก้ว ลูกปัดขนาดเล็ก และกำไลสำริด นอกจากนี้ชาวบ้านยังได้ร่วมบริจาคข้าวของเครื่องใช้เก่าสมัยโบราณให้นำมาจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์อีกด้วย พิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดถ้ำพระศิลาทอง เป็นแหล่งโบราณคดีในระยะก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย อายุราว 2000 – 3000 ปี ซึ่งปรากฏหลักฐานทางโบราณวัตถุที่สำคัญ เช่น กำไลข้อมือลายเกลียวเชือก กลองมโหระทึก ขวานสำริด รูปรองเท้าบูท เครื่องปั้นดินเผา ตลอดจนการฝังศพในภาชนะดินเผาทรงกลมขนาดใหญ่

ทุนทางสังคมด้านวัฒนธรรม (Cultural Capital)

เขมราฐ

...
ผ้าฝ้ายเข็นมือย้อมสีธรรมชาติ

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสตรีพัฒนาบ้านโพธิ์เมือง การทอผ้าฝ้ายเข็นมือ ย้อมสีจากธรรมชาติ ใช้สีจากพืชพันธุ์ท้องถิ่น โดยการนำพืชพันธุ์ในท้องถิ่น มาใช้เป็นวัตถุดิบในการย้อมสี อย่าง สีฟ้า-สีน้ำเงิน จากต้นคราม ที่ปลูกเองในชุมชน สีน้ำตาลทองจากต้นอะราง สีเขียวอ่อนจากใบย่านาง/ใบหูกวาง สีชมพูจากครั่ง สีเทาอ่อนจากมะเกลือ และยังมีลวดลายผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน การทำลายผ้าเก่าแก่ที่เป็นเอกลักษณ์ของบ้านโพธิ์เมืองคือ “ลายหมากไม”และ ลายใบโพธิ์ ลายไหโบราณ ลายปลาแกง และยังมีลายขาเปียเล็กกับลายตุ้มป่อง อีกด้วย วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสตรีพัฒนาบ้านโพธิ์เมือง เกิดจากการเริ่มรวมกลุ่มเพื่อออกกำลังกาย โดยการเต้นรำวงย้อนยุค และเต้นบาสโลบ แบบทางฝั่ง สปป.ลาว เขานิยมกัน จนถูกเชิญไปเต้นโชว์ เวลามีกิจกรรมต่าง ๆ ของอำเภอเขมราฐ และละแวกใกล้เคียงอยู่บ่อย ๆ คือจุดเริ่มต้นของกลุ่มทอผ้าฝ้ายเข็นมือ ย้อมสีธรรมชาติในเวลาต่อมา การพูดคุยหลังออกสเต็ปเรียกเหงื่อทุกเมื่อเชื่อวัน นางรำแต่ละคนต่างล้วนมีวิชาทอผ้าติดตัวกันมาตั้งแต่เป็นเด็กน้อย บ้างยังทอไว้ใช้เอง หรือฝากให้ลูกหลานเป็นงานอดิเรก แต่บางคนแขวนกี่อย่างถาวร เมื่อความคิดตกผลึก ตระหนักถึงภูมิปัญญาการทอผ้าฝ้ายเข็นมือ ที่นับวันจะเลือนหายไปจากชุมชน จนอาจเป็นเพียงเรื่องเล่า ว่าบ้านโพธิ์เมืองเคยมีการปลูกฝ้าย ทอผ้า จึงเริ่มลงมือลงแรง รื้อฟื้นภูมิปัญญาการทอผ้าอย่างจริงจัง เรื่องราวรอบตัวภายในชุมชน ถูกจินตนาการออกมาเป็นลวดลายกราฟิก โดยอาจารย์จากมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ที่เข้ามาให้คำแนะนำและช่วยเหลืออย่างเต็มกำลัง อย่าง “ลายใบโพธิ์” ที่ได้แรงบันดาลใจจากต้นโพธิ์ ไม้ใหญ่คู่หมู่บ้านมานานกว่าร้อยปี “ลายไห” แกะจากไหโบราณ สำหรับใส่กระดูกคนตาย ซึ่งขุดค้นพบบริเวณหนองน้ำละแวกหมู่บ้าน สันนิษฐานว่า เป็นของชาวไทข่า ที่มาลงหลักปักฐานอยู่ย่านนี้ในอดีต “ลายปลาแกง” ปลาจากแม่น้ำโขงที่ชาวบ้านนิยมนำมาปรุงเป็นลาบรสแซ่บ มากกว่าต้มยำทำแกงเหมือนชื่อปลา “ลายขาเปียเล็ก” ได้จากไม้เปีย อุปกรณ์สำหรับจัดเก็บฝ้ายที่เข็นเป็นเส้นแล้ว “ลายตุ้มป่อง” จากตุ้มดักปลา ฯลฯ “นอกจากของดั้งเดิม และลายที่แกะขึ้นใหม่ เรายังนำพืชพันธุ์ในท้องถิ่น มาใช้เป็นวัตถุดิบในการย้อมสีอีกด้วย

ทุนทางสังคมด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom Capital)

เขมราฐ

...
รำตังหวาย

รำตังหวายจะเป็นการเกี้ยวพาราสีฝ่ายชายและฝ่ายหญิง เป็นการลำแบบลำสดและมีการฟ้อนรำตังหวาย มีท่าทางการฟ้อนรำที่เป็นเอกลักษณ์และมีบทคำร้องที่ปรับได้ตามยุคสมัย มีเครื่องแต่งกานของการรำตังหวายที่เป็นเอกลักษณ์ แต่งกายโดยการใส่ผ้าฝ้ายย้อมคราม ผ้าซิ่นย้อมครามที่เป็นลายเอกลักษณ์ของคนในชุมชน ท่ารำตังหวายมีทั้งหมด 12 ท่ารำ การดำเนินกิจกรรมเป็นการฟ้อนรำในพิธีงานต่างๆที่สำคัญภายในพื้นที่และได้มีการนำมาทำการฟ้อนรำแสดงโชว์ศิลปะพื้นเมืองของอำเภอเขมราฐ ได้มีการนำท่ารำมาแสดงในงานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี

ทุนทางสังคมด้านสถาบัน (Institutes Capital)

เขมราฐ

...
ปราชญ์ด้านงานทอผ้ามัดหมี่

กลุ่มผ้าฝ้ายทอมือ ป้าติ๋ว สำหรับคนที่ชื่นชอบงานผ้าไม่ควรพลาดแวะมาเยี่ยมเยียนบ้านป้าติ๋ว ธนิษฐา วงศ์ปัดสา ปราชญ์ด้านงานทอผ้ามัดหมี่แห่งอ.เขมราฐ ซึ่งป้าติ๋วได้สืบทอดภูุมิปัญญาทอผ้านี้มาจากบรรพบุรุษตั้งแต่จำความได้ รวมทั้งมีการพัฒนาลวดลายจากแบบโบราณสู่ลายประยุกต์ต่างๆที่ป้าคิดค้นขึ้นเอง โดยลวดลายโบราณที่จัดแสดงไว้ หากมาชมแล้วชื่นชอบผืนไหน ป้าติ๋วยังมีคำทำนายลักษณะนิสัยเล่าสู่ให้ฟังอย่างเป็นกันเองด้วย ส่วนบ้านป้าติ๋วเองก็เปิดเป็นศูนย์เรียนรู้เรื่องการทอผ้ายอมคราม มีทั้งกี่ทอผ้าและการทำน้ำครามให้ชม นอกจากนี้ยังใช้สีสันจากธรรมชาติอื่นๆมาย้อมผ้าเพิ่มความหหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น เปลือกต้นกระโดน ใบหูหวาง แก่นต้นฝาง ฯลฯและทุกวันนี้นอกจากผ้ามัดหมี่ย้อมครามลายโบราณและประยุกต์ที่ป้าติ๋วคิดค้นแล้ว ยังมีกลุ่มคนรุ่นใหม่ลูกหลานเขมราฐที่สนใจงานผ้า เข้ามาช่วยป้าติ๋วดีไซน์รูปแบบและเพิ่มลายปักน่ารักๆลงไป จนสะดุดตาน่าใส่มากๆอีกด้วย

ทุนทางสังคมด้านมนุษย์ (Human Capital)

เขมราฐ

...
หาดทรายสูง

แม่น้ำโขงแป็นแม่น้ำอัศจรรย์ มีสิ่งอัศจรรย์มากมายซ่อนอยู่ใต้แม่น้ำซึ่งจะเผยให้เห็นยามหน้าแล้งที่น้ำลดระดับลงนับสิบเมตร และหาดทรายสูง แห่งอำเภอเขมราฐ ก็เป็นหนึ่งในสถานที่ที่เที่ยวได้เมื่อเข้าหน้าแล้งเท่านั้น ด้วยลักษณะภูมิประเทศเหมาะสม ทุกปีกระแสแม่น้ำโขงจะพัดเอาทรายมารวมกันไว้ที่นี่และพอแม่น้ำลดระดับก็จะได้กระแสลมพัดพาทรายเม็ดเล็กเม็ดน้อยมากองทับถมกันจนกลายเป็นเนินทรายริมแม่น้ำ แลดูคล้ายทะเลทรายขนาดย่อม เวลาฤดูท่องเที่ยวมาถึง จะมีการทำซุ้มร้านอาหารริมแม่น้ำ มีกิจกรรมเล่นสไลเดอร์บนเนินทราย นอกจากนี้ยังมีบริเวณที่เป็นแก่งหินสวยงามลักษณะคล้ายกับสามพันโบกให้เที่ยวชมถ่ายรูปอีกด้วย ที่ตั้ง : ริมแม่น้ำโขง บ้านลาดเจริญ ต.นาแวง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี เวลาทำการ : ไม่มีกำหนดเปิด-ปิด หาดทรายจะโผล่พ้นน้ำประมาณเดือนธันวาคมถึงพฤษภาคม ช่วงที่ดีที่สุดคือตั้งแต่มกราคมถึงเมษายน ค่าเข้าชม : ไม่มีค่าเข้าชม

ทุนทางสังคมด้านทรัพยากรธรรมชาติ (Natural Capital)

เขมราฐ

×