การใช้ช้อนตักปลาบริเวณหน้าปากบ้อง ซึ่งเป็นจุดที่แคบที่สุดของแม่น้ำโขง บริเวณปากบ้องยังเป็นจุดขายที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะในการท่องเที่ยวแม่น้ำโขงในหน้าแล้ง ซึ่งอำเภอโพธิ์ไทร มีนักท่องเที่ยวมาล่องเรือชมความงามของเกาะ แก่ง ที่โพล่ขึ้นมาเหนือน้ำและวิถีชีวิตของชาวบ้าน ที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่งผลให้เกิดรายได้ให้ชาวบ้านในช่วงหน้าแล้งหลังจากฤดูการทำนา
ทุนทางสังคมด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom Capital)
โพธิ์ไทร
1. ความเป็นมา เพื่อเป็นการสืบสานศิลปะการแสดงหนังประโมทย์ที่มีมาแต่ดั้งเดิมให้คงอยู่ จึงรวมกลุ่มกันทำหนังประโมทย์ขึ้นโดยมีการพากษ์เสียง เชิดหนัง ร้องลำ ให้มีความสนุกในการละเล่นมากขึ้นจนทำให้ได้รับความนิยมและศิลปะการแสดงหนังประโมทย์ยังคงอยู่สืบไป 2. กระบวนการ/วิธีการขั้นตอน/เทคนิค/ข้อพึงระวัง ที่ใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาอาชีพ เป็นการสืบสานศิลปะการแสดงหนังประโมทย์ โดยสามารถตัดตัวหนังเองได้และพากษ์ได้หลายเสียงพร้อมร้องเล่นและเชิดหนังประโมทย์ได้ พร้อมกันนี้ยังสามารถแต่งบทกลอนและคำพูดร้องลำให้ตัวหนังแต่ละตัวเพื่อเพิ่มความสนุกสนานให้กับการแสดงอีก 3. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ต้องมีความอดทนสูง ตรงต่อเวลา เพราะเวลาแสดงอาจมีเรื่องรบกวนมากจึงต้องใช้ความอดทนและใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมรวมไปถึงเข้าใจถึงจิตใจของผู้ที่มาดูการแสดงว่ามีความต้องการดูลักษณะใด
ทุนทางสังคมด้านมนุษย์ (Human Capital)
โพธิ์ไทร
บุญข้าวประดับดิน เป็นบุญเดือนเก้า ที่จัดขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และสัตว์นรกหรือเปรต ประเพณีบุญข้าวประดับดิน บุญเดือนเก้า เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาในพื้นที่อำเภอไพธิ์ไทรอย่างยาวนาน โดยบุญข้าวประดับดิน เป็นงานประเพณีที่ถูกจัดขึ้นในวันแรม 14 ค่ำ เดือนเก้า ของทุก ๆ ปี ทั้งนี้ ในการทำบุญข้าวประดับดินนั้น ชาวบ้านจะนำข้าวปลา อาหาร คาวหวาน ผลไม้ หมาก พลู บุหรี่ มาห่อด้วยใบตอง และทำเป็นห่อเล็ก ๆ ก่อนจะนำไปวางตามโคนต้นไม้ใหญ่หรือตามพื้นดินบริเวณรอบ ๆ เจดีย์ หรือโบสถ์ โดยการทำบุญข้าวประดับดินนี้ ชาวบ้านเชื่อว่า เป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว รวมถึงอุทิศส่วนกุศลให้กับสัตว์นรก หรือเปรต บุญข้าวประดับดิน ยังถือว่าเป็นการให้ทานแก่ผู้ยากไร้รวมทั้งสัตว์ที่ไม่มีเจ้าของ ที่ต้องหิว อดมื้อกินมื้อมาตลอดทั้งปีอีกด้วย เพราะการที่ตั้งอาหารไว้ที่พื้นทำให้สัตว์เหล่านั้นสามารถเข้ามากินอาหารได้อย่างเต็มที่ พิธีกรรมบุญข้าวประดับดิน มีดังนี้ 1. วันแรม 13 ค่ำ เดือน 9 ชาวบ้านจะเตรียมข้าวต้ม ขนม อาหารคาวหวาน หมาก พลู และบุหรี่ไว้ 4 ส่วน ส่วนหนึ่งเลี้ยงดูกันภายในครอบครัว ส่วนที่สองแจกให้ญาติพี่น้อง ส่วนที่สามอุทิศให้ญาติที่ตายไปแล้ว และส่วนที่สี่นำไปถวายพระสงฆ์ ในส่วนที่สาม ญาติโยมจะห่อข้าวน้อย ซึ่งมีวิธีการห่อคือ ใช้ใบตองห่อขนาดเท่าฝ่ามือ ส่วนความยาวนั้นให้ยาวสุดซีกของใบตอง 2. วันแรม 14 ค่ำ เดือน 9 ชาวบ้านจะไปวัดตั้งแต่เวลาตี 4 เพื่อนำสิ่งของที่เตรียมไว้จัดใส่กระทง หรือเย็บเป็นห่อเหมือนข้าวสากไปวางอุทิศส่วนกุศลตามที่ต่าง ๆ ซึ่งการวางแบบนี้ เรียกว่า การวางห่อข้าวน้อย แต่หากเป็นการนำไปวางในวัด จะเรียกว่า การยาย (วางเป็นระยะ ๆ ) ห่อข้าวน้อย ซึ่งเวลานำไปวางจะพากันไปทำอย่างเงียบ ๆ ไม่มีการตีฆ้อง ตีกลองแต่อย่างใด 3. หลังจากวางเสร็จแล้ว ชาวบ้านจะกลับบ้านเพื่อเตรียมอาหารทำบุญที่วัดอีกทีหนึ่งในตอนเช้า เมื่อพระสงฆ์ฉันเช้าเสร็จก็จะเทศน์ฉลองบุญข้าวประดับดิน ต่อจากนั้น ชาวบ้านจะนำปัจจัยไทยทานถวายแด่พระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์ให้พรเสร็จ ชาวบ้านที่มาทำบุญก็จะกรวดน้ำ อุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติผู้ที่ล่วงลับไปแล้วทุก ๆ คน สำหรับอาหารคาวหวานที่ใส่ห่อในการทำบุญข้าวประดับดิน อาจมีดังนี้ 1.ข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วปั้นเป็นก้อนเล็กๆ ขนาดเท่าหัวแม่มือ 1 ก้อน 2.เนื้อปลา เนื้อไก่ หมู และใส่ลงไปเล็กน้อย ถือว่าเป็นอาหารคาว 3. กล้วย น้อยหน่า ฝรั่ง มะละกอ มันแกว อ้อย มะละกอสุก หรือขนมหวานอื่น ๆ ลงไป 4. หมากหนึ่งคำ บุหรี่หนึ่งมวน เมี่ยงหนึ่งคำ
ทุนทางสังคมด้านวัฒนธรรม (Cultural Capital)
โพธิ์ไทร
การทอผ้าลายดอกผักแว่นหรือเดิมเรียกว่าผ้าลายตีนกา ชาวบ้านจะปลูกฝ้ายเอง และนำฝ้ายที่ปลูกเมื่อถึงช่วงเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิตนำมาเข็นเข้าขั้นตอนการทอผ้าเอง การทอผ้าจะทำการทอในเวลากลางวัน ซึ่งผู้หญิงจะเป็นผู้ทำการทอผ้า แต่การเข็นฝ้ายให้เป็นเส้นจะเข็นหรือทำกันในตอนกลางคืน โดยเรียกชื่อว่า”การลงข่วงเข็นฝ้าย” โดยผู้หญิงจะมาร่วมเข็นเป็นกลุ่ม มีการก่อกองไฟเพื่อให้แสงสว่างในตอนกลางคืน เพราะสมัยนั้นในหมู่บ้านยังไม่มีไฟฟ้าใช้เหมือนในปัจจุบัน การก่อกองไฟจะใช้ฟืนซึ่งหาได้ตามธรรมชาติ ภายในหมู่บ้านมาเป็นเชื้อเพลิงในการก่อกองไฟ และผู้ที่จะมาเข็นฝ้ายส่วนใหญ่จะเป็นหญิงที่ยังไม่ได้แต่งงานหรือเรียกตามภาษาถิ่นว่า “ผู้สาว” และจะมีผู้ชายมาเล่นดนตรี โดยการเป่าแคน ดีดพิณ เป่าขลุ่ย จีบหญิงสาวที่มาเข็นฝ้าย สำหรับผู้ชายที่มาเล่นดนตรีนั้นจะมีทั้งที่อยู่ในหมู่บ้านเดียวกันและมาจากหมู่บ้านอื่น ซึ่งภาถิ่นจะเรียกว่า “การลงข่วง” เป็นประจำทุกคืนจนถึงเวลาประมาณ 5-6 ทุ่ม จึงเลิกและแยกย้ายกันกลับบ้าน ลักษณะที่โดดเด่นของผ้าลายดอกผักแว่น 1. ส่วนประกอบที่เป็นลายดอกผักแว่น (คล้ายดอกผักแว่นที่เป็นธรรมชาติ) 2. ส่วนประกอบที่เป็น เส้นยืน มี ๒ สี สี ละ ๒ เส้น 3. ส่วนประกอบที่เป็นดอกขัดเป็นสีขาวสับหว่างให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทอ 2 สี 2 เส้น (ทอยกดอก) 4. ใช้ฟืม 4 เขา 4 ขาเหยียบ ปัจจุบันชาวบ้านนิยมทอผ้าลายดอกผักแว่นหลายสีตามความนิยม แต่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ การยกดอกสีขาวในทุกผืนผ้า ซึ่งมีลักษณะโดดเด่นและมีความประณีต
ทุนทางสังคมด้านสถาบัน (Institutes Capital)
โพธิ์ไทร
อัตลักษณ์และความโดดเด่นในด้านต่าง ๆ บ้านผาชัน หมู่ 7 ประชาชนในหมู่บ้าน เป็นชุมชนที่มีทีมผู้นำเข้มแข็งประชาชนมีความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลต่อกัน ซึ่งเป็นทุนทางสังคมของคนชนบท จุดเด่นของชุมชน คือ มีทรัพยากรธรรมชาติคือ แม่น้ำโขง เสาเฉลียงยักษ์ ล้ำโลง ท่าเรือผาชัน ที่ธรรมชาติสร้างขึ้น และมีนวัตกรรมแอร์แว การบริหารจัดการน้ำ ป่าชุมชน เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ มีกลุ่มกองทุนปลาที่เกิดจากความร่วมมือของชุมชน บ้านพักโฮมเสตย์ หมู่บ้านผาชัน ถือว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวน่ามาเยือนมากแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของตำบลสำโรง อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี “เสาเฉลียงใหญ่” เป็นไฮไลท์หลักของการท่องเที่ยว เสาหินแห่งนี้มีความสูงประมาณ สูง 12 เมตร มีรูปร่างคล้ายกับดอกเห็ด โดยความเชื่อของชุมชนแล้ว ถือว่าเสาเฉลียงนั้นเป็นที่อยู่ของเหล่าวิญญาณของเจ้าเมือง และทหารกล้า ซึ่งเสียชีวิตจากการไปสู้รบในต่างแดน เชื่อกันว่าวิญญาณนั้น จะเป็นผึ้งมารวมกันอยู่บริเวณเสาหิน ทุกๆ วันพระ จะมีเจ้ากวน (ผู้ทรงเจ้า) จากหมู่บ้านไปบูชาทำสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน นักท่องเที่ยวจะได้ตื่นตาตื่นใจไปกับความความสวยงามของตลอดสองฝั่งโขง ซึ่งจะมีจุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลายๆแห่ง ซึ่งประกอบด้วย “เสาเฉลียงใหญ่” เป็นไฮไลท์หลักของผาชัน มีลักษณะเป็นหน้าผาหินที่มีความสูงชัน โดยหน้าผานั้นมีความสูง ประมาณ 40-50 เมตร จากระดับน้ำ ตลอดเส้นทางยาวประมาณ 5 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวที่มาเยือนต้องไม่ พลาดการล่องเรือชมทิวทัศของแม่น้ำโขงซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ของตำบลสำโรง ผาตัวเลข หรือชาวบ้านเรียกว่า ผาศิลาเลข เป็นตัวเลขที่ชาวฝรั่งเศสแกะสลักไว้บนหน้าผา เพื่อวัดระดับความสูงของน้ำ ประกอบการเดินเรือในสมัยที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส ปรากฏให้เห็นร่องรอยหินแกะสลักจนถึงปัจจุบัน ซึ่งผาตัวเลขอยู่บริเวณริมฝั่งด้านซ้ายมือของท่าเรือบ้านผาชัน ผาหมาว้อ เป็นหน้าผาหินที่มีความสวยงาม จะมีลักษณะเหมือนหัวสุนัขยื่นออกมาชาวบ้านจึงเรียกว่า “ผาหมาว้อ” ผาสามหมื่นรู เป็นหน้าผาหินสูงชันตะปุ่มตะป่ำเกิดจากน้ำโขงไหลวนและกระทบฝั่งเป็นเวลานาน จนทำให้หน้าผาบริเวณนี้เป็นรูมากมายนับไม่ถ้วนชาวบ้านจึงเรียกว่า ผาสามหมื่นรู นอกจากทัศนียภาพทางฝั่งไทยแล้วทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ที่สวยงามไม่แพ้ฝั่งขวาของเรา เช่น น้ำตกปากห้วยคอง เป็นน้ำตกชั้นเดียว และ น้ำตกปากห้วยบอน เป็นน้ำตก 2 ชั้น ที่ไหลลงมาจากน้ำธรรมชาติของประเทศลาว และไหลลงสู่แม่น้ำโขง
ทุนทางสังคมด้านทรัพยากรธรรมชาติ (Natural Capital)
โพธิ์ไทร