พื้นที่ของแหล่งทุนทางสังคม
ทุนทางสังคม (Capital)
icon

ทุนทางสังคมด้านวัฒนธรรม (Cultural Capital)

...
พิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดภูถ้ำพระศิลาทอง

พิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดภูถ้ำพระศิลาทอง ก่อตั้งเนื่องจากการที่ชาวบ้านได้ขุดดินเพื่อทำศาลาและได้ขุดพบโบราณวัตถุและหลักฐานทางโบราณคดีต่างๆ ในปี 2550 ต่อมาจึงได้สร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ในปี 2551 และได้นำโบราณวัตถุต่างๆมาจัดแสดงไว้ในภายในอาคาร อาทิ โครงกระดูกมนุษย์ที่สวมสร้อยคอลูกปัดแก้ว ลูกปัดขนาดเล็ก และกำไลสำริด นอกจากนี้ชาวบ้านยังได้ร่วมบริจาคข้าวของเครื่องใช้เก่าสมัยโบราณให้นำมาจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์อีกด้วย พิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดถ้ำพระศิลาทอง เป็นแหล่งโบราณคดีในระยะก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย อายุราว 2000 – 3000 ปี ซึ่งปรากฏหลักฐานทางโบราณวัตถุที่สำคัญ เช่น กำไลข้อมือลายเกลียวเชือก กลองมโหระทึก ขวานสำริด รูปรองเท้าบูท เครื่องปั้นดินเผา ตลอดจนการฝังศพในภาชนะดินเผาทรงกลมขนาดใหญ่

ทุนทางสังคมด้านวัฒนธรรม (Cultural Capital)

เขมราฐ

...
วัฒนธรรมชุมชนบ้านเวินบึก

เป็นพิธีบวงสรวงเจ้าปู่ หรือเจ้าที่ เพื่อขอพรให้ปราศจากภัยอันตรายทั้งหลายมาบังเบียด ทำให้จิตใจเป็นสุข และก็อยู่กันอย่างผาสุก การทำไร่นาจะบุกเบิกป่าสักแห่งก็ต้องบอกกล่าวผีป่าผู้รักษาเสียก่อน เมื่อถึงฤดูทำนาหรือก่อนจะลงมือทำนาต้องมีการเลี้ยงเจ้าปู่เสียก่อน เช่น เลี้ยงข้าวปลาอาหาร เหล้ายา แล้วจุดธูปเทียน อธิษฐานขอพร เป็นต้นว่าขอให้นาของเราจงอุดมสมบูรณ์ อำนวยผลให้ข้าวกล้าในนางอกงาม เป็นต้น

ทุนทางสังคมด้านวัฒนธรรม (Cultural Capital)

โขงเจียม

...
บุญข้าวประดับดิน(ห่อข้าวน้อย)

บุญข้าวประดับดิน เป็นบุญเดือนเก้า ที่จัดขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และสัตว์นรกหรือเปรต ประเพณีบุญข้าวประดับดิน บุญเดือนเก้า เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาในพื้นที่อำเภอไพธิ์ไทรอย่างยาวนาน โดยบุญข้าวประดับดิน เป็นงานประเพณีที่ถูกจัดขึ้นในวันแรม 14 ค่ำ เดือนเก้า ของทุก ๆ ปี ทั้งนี้ ในการทำบุญข้าวประดับดินนั้น ชาวบ้านจะนำข้าวปลา อาหาร คาวหวาน ผลไม้ หมาก พลู บุหรี่ มาห่อด้วยใบตอง และทำเป็นห่อเล็ก ๆ ก่อนจะนำไปวางตามโคนต้นไม้ใหญ่หรือตามพื้นดินบริเวณรอบ ๆ เจดีย์ หรือโบสถ์ โดยการทำบุญข้าวประดับดินนี้ ชาวบ้านเชื่อว่า เป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว รวมถึงอุทิศส่วนกุศลให้กับสัตว์นรก หรือเปรต บุญข้าวประดับดิน ยังถือว่าเป็นการให้ทานแก่ผู้ยากไร้รวมทั้งสัตว์ที่ไม่มีเจ้าของ ที่ต้องหิว อดมื้อกินมื้อมาตลอดทั้งปีอีกด้วย เพราะการที่ตั้งอาหารไว้ที่พื้นทำให้สัตว์เหล่านั้นสามารถเข้ามากินอาหารได้อย่างเต็มที่ พิธีกรรมบุญข้าวประดับดิน มีดังนี้ 1. วันแรม 13 ค่ำ เดือน 9 ชาวบ้านจะเตรียมข้าวต้ม ขนม อาหารคาวหวาน หมาก พลู และบุหรี่ไว้ 4 ส่วน ส่วนหนึ่งเลี้ยงดูกันภายในครอบครัว ส่วนที่สองแจกให้ญาติพี่น้อง ส่วนที่สามอุทิศให้ญาติที่ตายไปแล้ว และส่วนที่สี่นำไปถวายพระสงฆ์ ในส่วนที่สาม ญาติโยมจะห่อข้าวน้อย ซึ่งมีวิธีการห่อคือ ใช้ใบตองห่อขนาดเท่าฝ่ามือ ส่วนความยาวนั้นให้ยาวสุดซีกของใบตอง 2. วันแรม 14 ค่ำ เดือน 9 ชาวบ้านจะไปวัดตั้งแต่เวลาตี 4 เพื่อนำสิ่งของที่เตรียมไว้จัดใส่กระทง หรือเย็บเป็นห่อเหมือนข้าวสากไปวางอุทิศส่วนกุศลตามที่ต่าง ๆ ซึ่งการวางแบบนี้ เรียกว่า การวางห่อข้าวน้อย แต่หากเป็นการนำไปวางในวัด จะเรียกว่า การยาย (วางเป็นระยะ ๆ ) ห่อข้าวน้อย ซึ่งเวลานำไปวางจะพากันไปทำอย่างเงียบ ๆ ไม่มีการตีฆ้อง ตีกลองแต่อย่างใด 3. หลังจากวางเสร็จแล้ว ชาวบ้านจะกลับบ้านเพื่อเตรียมอาหารทำบุญที่วัดอีกทีหนึ่งในตอนเช้า เมื่อพระสงฆ์ฉันเช้าเสร็จก็จะเทศน์ฉลองบุญข้าวประดับดิน ต่อจากนั้น ชาวบ้านจะนำปัจจัยไทยทานถวายแด่พระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์ให้พรเสร็จ ชาวบ้านที่มาทำบุญก็จะกรวดน้ำ อุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติผู้ที่ล่วงลับไปแล้วทุก ๆ คน สำหรับอาหารคาวหวานที่ใส่ห่อในการทำบุญข้าวประดับดิน อาจมีดังนี้ 1.ข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วปั้นเป็นก้อนเล็กๆ ขนาดเท่าหัวแม่มือ 1 ก้อน 2.เนื้อปลา เนื้อไก่ หมู และใส่ลงไปเล็กน้อย ถือว่าเป็นอาหารคาว 3. กล้วย น้อยหน่า ฝรั่ง มะละกอ มันแกว อ้อย มะละกอสุก หรือขนมหวานอื่น ๆ ลงไป 4. หมากหนึ่งคำ บุหรี่หนึ่งมวน เมี่ยงหนึ่งคำ

ทุนทางสังคมด้านวัฒนธรรม (Cultural Capital)

โพธิ์ไทร

...
การฟ้อนผีไท้

ประเพณีการรำผีไท้ เป็นประเพณีที่ชาวบ้านลาดควายพยายามรวมกลุ่มกันสืบทอดไว้ให้ลูกหลานในชุมชน ทุกปีเมื่อถึงระยะเวลาการประกอบพิธีกรรม ชาวบ้านจะนำลูกหลานและครอบครัว หรือนำผู้ป่วยในครอบครัว มาร่วมพิธีกรรมเพราะเชื่อว่า “ผีไท้” (ผีบรรพบุรุษหรือผีฟ้าที่มีความศักดิ์สิทธิ์เหนือเทวดา) จะช่วยคุ้มครองป้องกันปกปักรักษาครอบครัว และชุมชนของตนให้อยู่เย็นเป็นสุข ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ มีความเจริญรุ่งเรือง คนป่วยก็จะหายเจ็บป่วย ประเพณีการรำผีไท้ เป็นประเพณีความเชื่อเกี่ยวกับสุขภาพร่างกายของสมาชิกในครอบครัว มีความเชื่อและปฏิบัติสืบมาตั้งแต่สมัยรุ่นทวด ปู่ ย่า ตา ยาย จนกระทั่งถึงรุ่นปัจจุบัน ซึ่งเชื่อว่าหากมีสมาชิกในครอบครัวของเราป่วยหรือไม่สบายและเมื่อไปพบหมอตรวจรักษาแล้วไม่พบโรคหรือหรือหากทำการรักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้น ผู้ที่เป็นแม่บ้าน พ่อบ้าน หรือหัวหน้าครอบครัว อาจจะใช้วิธีพึ่งทางไสยศาสตร์ พบพระ หรือพ่อหมอ แม่หมอเพื่อตรวจดูดวงหรือนั่งทางนัยให้ว่ามีเหตุขัดข้องอะไร เราหรือสมาชิกในครอบครัวไปทำอะไรผิดผี ปู่ ย่า ตาย หรือเจ้าที่เจ้าทางหรือไม่ หรือเทวดา วิญญาณอารักษ์ต้องการเอาวิญญาณของคนที่กำลังป่วยอยู่ไปอยู่ด้วยหรือไม่ หรือวิญญาณผีไท้อยากจะมาอยู่ด้วย หากตรวจพบสาเหตุเช่นนี้แล้วก็จะมีการทำพิธีรำผีไท้ คือรับเอาวิญญาณของของผีไท้ให้มาสิงสถิตย์อยู่ในร่างของคนที่ป่วยหรือญาติของผู้ป่วยแล้วแต่ว่าวิญญาณนั้นจะมาเข้าสิงสถิยต์อยู่กับใคร ก็จะให้คนนั้นรับเอาและเป็นผีไท้ไปโดยปริยาย รำผีไท้ จะมีคนรำ(แม่หมอ) และมีดนตรีพื้นบ้านประกอบจังหวะ คือ แคน โดยจะมีการรำก็ต่อเมื่อมีคนเจ็บป่วยมาขอให้รักษาอาการเจ็บป่วย จึงจะมีพิธีกรรมนี้ขึ้นมา เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยของคนในชุมชน

ทุนทางสังคมด้านวัฒนธรรม (Cultural Capital)

ศรีเมืองใหม่

...
ประเพณีงานบุญประจำปีสักการะเจ้าใหญ่องค์ตื้อ

วัดพระโตบ้านปากแซงมีมาตั้ง พ.ศ. 1180 โดยเป็นการสร้างจากกษัตริย์สมัยขอมพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระยาแข้วเจ็ดถัน แต่เมื่อท่านถึงแก่กรรมลง ก็ขาดคนบูรณะ และกลายเป็นวัดร้าง นกระทั่งเวลาผ่านไปหลายร้อยปี ควาญช้างในหมู่บ้านนี้ ได้ไปพบพระพุทธรูปองค์ดังกล่าว และได้บอกบุญชาวบ้านร่วมกันบูรณะวัดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งและต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อวัดเป็น “วัดพระโต” และจากหลักฐานการบูรณะวัดพระโต ในปี พ.ศ.2461 พระครูกุ พร้อมชาวบ้านได้ร่วมกันก่อสร้างวิหารโดยว่าจ้างช่างชาวญวนใช้เวลาสร้าง 3 ปี และจารึกไว้ที่วิหารว่า “ข้าพเจ้าพระครูทองกุศกร สมภาควัดกลางเขมราฐ มีท่านพระครูกุ เป็นประธานพร้อมด้วยข้าพเจ้าทั้งหลายทั้งกำนันผู้ใหญ่บ้านได้พร้อมใจกันบริจาคทรัพย์สร้างวิหารพระเจ้าใหญ่ปากแซง ใน 5 หมู่บ้าน คือ บ้านปากแซง บ้านนาทราย บ้านพะลาน บ้านบก บ้านทุ่งเกลี้ยง ได้จ้างคนอานาม (เวียดนาม) เป็นเงิน 700 บาท สร้างเมื่อ พ.ศ. 2463 ถึง พ.ศ. 2468 แล้วเสร็จ”

ทุนทางสังคมด้านวัฒนธรรม (Cultural Capital)

นาตาล

×