พื้นที่ของแหล่งทุนทางสังคม
ทุนทางสังคม (Capital)
icon

ทุนทางสังคมด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom Capital)

...
ผ้าฝ้ายเข็นมือย้อมสีธรรมชาติ

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสตรีพัฒนาบ้านโพธิ์เมือง การทอผ้าฝ้ายเข็นมือ ย้อมสีจากธรรมชาติ ใช้สีจากพืชพันธุ์ท้องถิ่น โดยการนำพืชพันธุ์ในท้องถิ่น มาใช้เป็นวัตถุดิบในการย้อมสี อย่าง สีฟ้า-สีน้ำเงิน จากต้นคราม ที่ปลูกเองในชุมชน สีน้ำตาลทองจากต้นอะราง สีเขียวอ่อนจากใบย่านาง/ใบหูกวาง สีชมพูจากครั่ง สีเทาอ่อนจากมะเกลือ และยังมีลวดลายผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน การทำลายผ้าเก่าแก่ที่เป็นเอกลักษณ์ของบ้านโพธิ์เมืองคือ “ลายหมากไม”และ ลายใบโพธิ์ ลายไหโบราณ ลายปลาแกง และยังมีลายขาเปียเล็กกับลายตุ้มป่อง อีกด้วย วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสตรีพัฒนาบ้านโพธิ์เมือง เกิดจากการเริ่มรวมกลุ่มเพื่อออกกำลังกาย โดยการเต้นรำวงย้อนยุค และเต้นบาสโลบ แบบทางฝั่ง สปป.ลาว เขานิยมกัน จนถูกเชิญไปเต้นโชว์ เวลามีกิจกรรมต่าง ๆ ของอำเภอเขมราฐ และละแวกใกล้เคียงอยู่บ่อย ๆ คือจุดเริ่มต้นของกลุ่มทอผ้าฝ้ายเข็นมือ ย้อมสีธรรมชาติในเวลาต่อมา การพูดคุยหลังออกสเต็ปเรียกเหงื่อทุกเมื่อเชื่อวัน นางรำแต่ละคนต่างล้วนมีวิชาทอผ้าติดตัวกันมาตั้งแต่เป็นเด็กน้อย บ้างยังทอไว้ใช้เอง หรือฝากให้ลูกหลานเป็นงานอดิเรก แต่บางคนแขวนกี่อย่างถาวร เมื่อความคิดตกผลึก ตระหนักถึงภูมิปัญญาการทอผ้าฝ้ายเข็นมือ ที่นับวันจะเลือนหายไปจากชุมชน จนอาจเป็นเพียงเรื่องเล่า ว่าบ้านโพธิ์เมืองเคยมีการปลูกฝ้าย ทอผ้า จึงเริ่มลงมือลงแรง รื้อฟื้นภูมิปัญญาการทอผ้าอย่างจริงจัง เรื่องราวรอบตัวภายในชุมชน ถูกจินตนาการออกมาเป็นลวดลายกราฟิก โดยอาจารย์จากมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ที่เข้ามาให้คำแนะนำและช่วยเหลืออย่างเต็มกำลัง อย่าง “ลายใบโพธิ์” ที่ได้แรงบันดาลใจจากต้นโพธิ์ ไม้ใหญ่คู่หมู่บ้านมานานกว่าร้อยปี “ลายไห” แกะจากไหโบราณ สำหรับใส่กระดูกคนตาย ซึ่งขุดค้นพบบริเวณหนองน้ำละแวกหมู่บ้าน สันนิษฐานว่า เป็นของชาวไทข่า ที่มาลงหลักปักฐานอยู่ย่านนี้ในอดีต “ลายปลาแกง” ปลาจากแม่น้ำโขงที่ชาวบ้านนิยมนำมาปรุงเป็นลาบรสแซ่บ มากกว่าต้มยำทำแกงเหมือนชื่อปลา “ลายขาเปียเล็ก” ได้จากไม้เปีย อุปกรณ์สำหรับจัดเก็บฝ้ายที่เข็นเป็นเส้นแล้ว “ลายตุ้มป่อง” จากตุ้มดักปลา ฯลฯ “นอกจากของดั้งเดิม และลายที่แกะขึ้นใหม่ เรายังนำพืชพันธุ์ในท้องถิ่น มาใช้เป็นวัตถุดิบในการย้อมสีอีกด้วย

ทุนทางสังคมด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom Capital)

เขมราฐ

...
แปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารจากปลา

วิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารจากปลาบ้านด่านใหม่ อำเภอโขงเจียม เป็นกลุ่มที่ก่อตั้งขึ้นจากการรวมกลุ่มกันเอง โดยการนำของอาจารย์วายุรี บุญไทย ผู้ซึ่งเกษียณก่อนเวลาจากการรับราชการครู ท่านได้เล็งเห็นว่าอำเภอโขงเจียม เป็นอำเภอที่มีนักท่องเที่ยวหลั่งไหล่เข้ามาเป็นจำนวนมาก นอกจากมาเพื่อท่องเที่ยวแล้ว ที่อำเภอโขงเจียมยังเป็นสถานที่ต้นๆสำหรับการอบรมสัมมนา ในขณะนั้นมีเพียงแค่ปลาสดที่เหล่านักเที่ยวสามารถซื้อเป็นของฝากได้ ซึ่งเป็นของฝากที่ไม่หลากหลาย ในปี พ.ศ. 2550 อาจารย์วายุรี บุญไทย จึงได้ชักชวน เหล่าแม่บ้านที่ว่างงานมาจัดตั้งกลุ่มขึ้น เพื่อทำการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปลา โดยเริ่มจากการทำแจ่วบองปลาร้าจากปลาอีตู๋ (ที่โขงเจียมเป็นปลาที่ปลาร้าแล้วอร่อย) ทดลองขายให้แก่คุณครู และเพื่อนบ้านใกล้เคียง เพื่อทดสอบตลาด และพัฒนาสูตร จากนั้นจึงได้เพิ่มผลิตภัณฑ์ให้หลากหลาย อาทิเช่น ส้มปลาอีตู๋ ส้มปลาตอง(ปลากราย) ส้มปลาปึ่ง(ปลาเทโพ) ส้มปลาปาก(ปลาตะเพียน) ส้มไข่ปลา เค็มบักนัด ปลาแดดเดียว และปลาร้า ซึ่งผลิตภัณฑ์ทัังหมดได้รับเครื่องหมาย อย. GMP ในปี พ.ศ. 2553 กลุ่มได้ส่งแจ่วบองปลาร้าเข้าประกวดดาว โดยได้รับ 5 ดาวในการประกวดครั้งแรก และในปีพ.ศ. 2556 ส้มปลาอีตู๋ก็ได้รับ 4 ดาวเช่นกัน นอกจากนี้ ทางหน่วยงานราชการต่างเข้ามาสนับสนุนในเรื่องต่างๆ ทั้งการออกร้านค้าในงานของหน่วยงานราชการ งานOTOP ที่เมืองทองธานี ทำให้วิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารจากปลาบ้านด่านใหม่ เป็นที่รู้จักกันเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ กลุ่มวิสาหกิจฯ ยังเป็นแหล่งศึกษาดูงานให้แก่หน่วยงานราชการ และผู้ที่สนใจ และในปีพ.ศ. 2558 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ ได้รับรางวัลรองชนะเลิสอันดับหนึ่ง ในการประกวดการคัดเลือกเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรดีเด่นระดับชาติ ประจำปี 2558 ในสาขา การแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารจากปลา จากกรมประมงอีกด้วย

ทุนทางสังคมด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom Capital)

โขงเจียม

...
การหาปลาบ้านสองคอน

การใช้ช้อนตักปลาบริเวณหน้าปากบ้อง ซึ่งเป็นจุดที่แคบที่สุดของแม่น้ำโขง บริเวณปากบ้องยังเป็นจุดขายที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะในการท่องเที่ยวแม่น้ำโขงในหน้าแล้ง ซึ่งอำเภอโพธิ์ไทร มีนักท่องเที่ยวมาล่องเรือชมความงามของเกาะ แก่ง ที่โพล่ขึ้นมาเหนือน้ำและวิถีชีวิตของชาวบ้าน ที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่งผลให้เกิดรายได้ให้ชาวบ้านในช่วงหน้าแล้งหลังจากฤดูการทำนา

ทุนทางสังคมด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom Capital)

โพธิ์ไทร

...
ผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติ บ้านหนามแท่ง

วิสาหกิจชุมชนทอผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ มีการทอแบบแบบดั้งเดิม มีการใช้สีธรรมชาติในการย้อมผ้า มีลายที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน และมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เช่น ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าข้าวม้า เป็นต้น ผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ บ้านหนามแท่งน้อย มีเจ้าแม่อินฐานางคอยเป็นผู้ริเริ่ม จึงได้รับการสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เพื่อต้องการที่จะสืบสานประเพณีให้คงอยู่ เพราะหมู่บ้านมีการปลูกฝ้ายเป็นจำนวนมาก จึงได้ใช้ประโยชน์จากต้นฝ้าย โดยการนำมาทอผ้า มีการใช้สีจากเปลือกไม้หรือสีจากธรรมชาติในการย้อมลงบนเส้นด้าย วาดลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ลงบนผืนฝ้า แล้วทอด้วยภูมิปัญญาดั้งเดิม เป็นผ้าฝ้ายทอมือที่มี ความประณีต สวยงามน่าสวมใส่

ทุนทางสังคมด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom Capital)

ศรีเมืองใหม่

...
กลุ่มผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติ

กลุ่มมีลายผ้าที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ได้ประทานลายผ้าเป็นของขวัญปีใหม่ และได้ประทานพระอนุญาตแบบลายมัดหมี่แก่ช่างทอผ้า ชื่อลาย “ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” ผ่านอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่และสื่อความหมายถึงการส่งมอบความรักและความสุขให้แก่ชาวไทยทุกคน

ทุนทางสังคมด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom Capital)

นาตาล

×